โยฮัน ไฮน์ริช ชุลทซ์
โยฮัน ไฮน์ริช ชุลทซ์

โยฮัน ไฮน์ริช ชุลทซ์

โยฮัน ไฮน์ริช ชุลทซ์ (เยอรมัน: Johann Heinrich Schultz; พ.ศ. 2227–2287) เป็นผู้ค้นพบเคมีภัณฑ์ทางการถ่ายภาพ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ อยู่ใกล้ ๆ กับเมืองเนือร์นแบร์ค เยอรมนีชุลทซ์เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ ซึ่งการทดลองของเขาได้เป็นสิ่งที่ปูทางให้แก่การถ่ายภาพในวันข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีที่มีอยู่นั้นจะมีสีดำขึ้นเมื่อถูกแสงอาทิตย์ แต่มันก็ยังไม่สารเคมีด้านที่ไม่โดนแสงจะหลงเหลือส่วนที่เป็นสีขาวเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเอาแต่มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง เขาได้บรรยายในหนังสือเอาไว้ว่า ฉันคลุมแก้วด้วยวัสดุสีดำและเหลือช่องเล็ก ๆ ไว้ให้แสงลอดผ่านแล้วเขียนชื่อและชื่อสารเคมีทั้งหมดลงบนกระดาษ และใช้มีดคมตัดส่วนที่เป็นหมึกออกไปอย่างระมัดระวัง ฉันนำกระดาษที่ฉลุลายไปติดตั้งลงบนแก้วด้วยขี้ผึ้ง ไม่นานก่อนที่แสงอาทิตย์จะสาดส่องลงมาที่แก้วแล้วลอดผ่านส่วนที่โดนตัดออกไปของกระดาษแล้วเขียนแต่ละคำหรือประโยคที่ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วบนผงชอล์กดังนั้นเป็นการแน่นอนและเห็นชัดเจนว่าใครหลาย ๆ คนต้องอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับการทดลองแต่บางคนที่มีความรู้น้อยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะคิดว่านี่เป็นเพียงแค่มายากลบางอย่างเท่านั้นชูลท์คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะทาสารละลายไปบนหนัง กระดูก ไม้ เพื่อทำให้เกิดภาพขึ้น ในที่สุดภาพที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็จางหายไป การทดลองของเขาไม่ประสบผลสำเร็จเวลานั้นยังไม่มีทางที่จะทำให้ภาพสเตนซิลเหล่านี้เกิดขึ้นถาวรได้ การทำให้เกิดเกลือโลหะเงินสีดำ (Black Metallic Silver) ของชูลท์นั้นพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ในปัจจุบัน จากการสังเกตของชูลท์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เขาส่งสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นไปยัง Nurnberg Imperial Academy แต่ก็ยังไม่มีการนำหลักการนี้มาใช้หรือพิจารณากันในเวลานั้น แต่ก็เป็นผลดีต่อการคิดค้นทางการถ่ายภาพในปี พ.ศ. 2270 Schulze ค้นพบว่า โลหะเงิน (silver) จะมีความไวต่อแสง เมื่อถูกละลายในกรดไนตริก ในช่วงแรกของ พ.ศ. 2343 สามารถค้นพบว่าความไวแสงของสารซิลเวอร์ไนเตรทสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการนำไปผสมกับธาตุฮาโลเจน (คลอรีน โบรไมน์ ไอโอดีน และอื่น ๆ ) ส่วนผสมนี้รู้จักกันในชื่อ ซิลเวอร์เฮไลด์(ซิลเวอร์คลอไรด์, ซิลเวอร์โบรไมน์, ซิลเวอร์ ไอโอดีน และอื่น ๆ )กระบวนการก็ยังคงล้มเหลวในแต่ละส่วนประกอบ สารซิลเวอร์เฮไลด์ยังจะโดนแสงอยู่ การทำให้รวมตัวกันสามารถถูกขยายได้โดยใช้สารเคมีที่เหมาะสมและสารเฮไลด์ที่ไม่โดนแสงสามารถถูกย้ายออกไปได้ นี่คือพื้นฐานของการพัฒนาฟิล์มถ่ายภาพและกระดาษในทุกวันนี้ผลึก Silver halide นั้นต้องการตัวเชื่อม (binders) เช่น พลาสติก หรือ แก้ว ซึ่งตัวเชื่อมนั้นต้องสามารถกักผลึกให้อยู่กับที่ได้ แต่ก็ต้องยอมให้ตัวทำละลายผ่านเข้าไปเพื่อทำปฏิกิริยาได้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ตัวเชื่อมที่ดี ได้มีการทดลองใช้ตัวเชื่อมหลาย ๆ ชนิดเพื่อเปรียบเทียบผล ทดลองใช้ ตั้งแต่ albumen ในไข่ขาว จนถึง สารพวก collodion อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2414 เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้วหลังจากที่ภาพถ่ายได้ถือกำเนิดขึ้น นักเขียนที่ชื่อ Dr.Maddox ผู้เขียนหนังสือเรื่อง British Journal of Photography ได้แนะนำให้ใช้ เจลลาติน (Gelatin) เป็น binding agent ซึ่งเป็นสารจำพวกโปรตีนที่พบได้ในกระดูกสัตว์ เนื่องจากเจลลาตินมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอันน่าทึ่งจึงทำให้เป็นที่ยอมรับและยังคงใช้กันจนถึงทุกวันนี้ ขั้นตอนทางเคมี มีดังนี้- ผสมโลหะเงินกับตัวเชื่อม จะได้ อิมัลชัน ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมปริมาณแสงได้ ดังนั้น อะตอมของเงินจะถูกสร้างขึ้นในปริมาณน้อย ๆ ภาพที่เกิดนั้น สายตาเราไม่อาจมองเห็นได้ เรียกว่า ภาพซ่อนเร้น (Latent image)- จากนั้นภาพซ่อนเร้นก็จะขยายหรือปรากฏขึ้น เมื่อปะทะเข้ากับแสง- ท้ายสุดหลังจากเกิดภาพแล้วต้องนำผลึก Silver halide ที่เหลืออยู่หรือไม่ละลายออกให้หมด เราเรียกกระบวนการนี้ว่า fixation (การที่ก๊าซเปลี่ยนกลับไปเป็นของแข็ง) ถ้าไม่นำผลึกที่เหลือออก ภาพก็จะเสีย คือ ภาพจะเป็นสีดำทั้งหมด ภาพที่เกิดขึ้นจากฟิล์มนี้ เรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของภาพถ่ายเลยก็ว่าได้ เรียกว่าเป็น ภาพแบบ เนกาทีฟ (Negative) คือพื้นหลัง (Background) ทั้งหมดจะเป็นสีดำ ส่วนภาพที่ปรากฏหรือต้องการจะเป็นสีขาวหรือใส ๆ ซึ่งภาพแบบเนกาทีฟนี้ใช้ในการสร้าง ภาพสุดท้าย (Final Print) หรือ ภาพแบบโพสิทีฟ (Positive) คือ ภาพที่เห็นตามความจริงนั่นเอง

ใกล้เคียง

โยฮัน เซบัสทีอัน บัค โยฮัน ไกรฟฟ์ โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ โยฮันเนิส บรามส์ โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ โยฮัน ชเตราส์ (ผู้บุตร) โยฮันเนส เฮเวลิอุส โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ โยฮัน ไกรฟฟ์อาเรนา โยฮัน ไฮน์ริช ลัมแบร์ท